วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกแบบไบแซนไทน์

ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกแบบไบแซนไทน์
กำเนิดของจักรวรรดิไบแซนไทน์



การเกิดนิกายกรีกออร์โธดอกซ์และโรมันคาธอลิก

  • Code คือ บรรดากฎหมายที่ใช้มาแต่โบราณ
  • Diges คือ ประมวลความเห็นทางกฎหมายของนักกฎหมายต่าง ๆ
  • Institute คือตำรากฎหมาย
  • Novelsคือภาคผนวกของ Code และประมวลความเห็นของจักรพรรดิสมัยต่าง ๆ
ประมวลกฎหมายสำคัญเป็นของจักรพรรดิจัสติเนียน เรียกว่า Corpus Juris Civilis หรือ Justinian Code ซึ่งมีการปรับปรุงมาโดยตลอด และยังคงมีอิทธิพลต่อวีถีชีวิตของชาวยุโรปตะวันออกในปัจจุบัน
ศิลปวิทยาการไบแซนไทน์     จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้สืบทอดผสมผสานศิลปะวิทยาการของโลกคลาสสิกและโลกมุสลิมให้เข้ากับคริสต์ศาสนาไว้ได้ครบถ้วน
    ทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น จอห์น เดอะ เกรมาเรียน เสนอทฤษฎีเรื่องความเร็วของวัตถุในสุญญากาศมิได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุนั้น ๆ นอกจากนี้ซีโมนเสธ
    ทางด้านศิลปะนั้น  จักรวรรดิไบแซนไทน์ไดผสมผสานรูปแบบศิลปะกรีกโรมันและเปอร์เซียอย่างกลมกลืน เป็นคลังด้านศิลปวิทยาการของกรีกโรมันและโลกมุสลิมที่ถ่ายทอดแก่โลกตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14-15 ตามลำดับ


ศาสนา    ศาสนาในจักรวรรดิไบแซนไทน์พัฒนามาจากคริสต์ศาสนาแบบกรีกนิยมมีผลทำให้ศาสนาคริสต์แยกออกเป็นสองนิกาย คือ กรีกออร์โธด็อกซ์นับถือกันในยุโรปตะวันออกและโรมันคาธอลิกนับถือในยุโรปตะวันตกอย่างเด่นชัน



ศาสนาอิสลามกับอารยธรรมตะวันตก    ศาสนาอิสลามหรือศาสนาของพวกชาราเซน  เกิดขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งเป็นเขตทะเลทรายแห้งแล้งและเป็นถิ่นฐานของชนเผ่าเร่ร่อนชาวอาหรับ และชาวเบดูอิน

ศาสดามะหะหมัด    ศาสดามะหะหมัดเกิดในตระกูลพ่อค้าวงศ์กูไรซิด เมื่อโตขึ้นได้คุมคาราววานค้าขายแล้วแต่งงานกับหญิงหม้าย การเดินทางทำให้มีวิสัยทัศน์ จากการพบพ่อค้าชาวฮิบรู ชาวคริสต์และพ่อค้าที่นับถือศาสนาโซโรแอสเตอร์ ครั้นอายุ 40 ปี ก็ประกาศตัวเป็นศาสดาพยากรณ์องค์สุดท้ายเพื่อเผยแพร่คำสอนของพระอัลหล่าห์
   ศาสนาอิสลามสอนเรื่องการนอบน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อ อดกลั้น สามัคคีรักใคร่ฉันท์พี่น้องและอุทิศชีวิตเพื่อศาสนา เป็นต้น ศาสนาอิสลามแบ่งเป็น 3 นิกาย คือ
  • นิดายสึกนี่
  • นิดายชิอะห์
  • นิกายซูฟีร์


การขยายตัวของจักรวรรดิมุสลิม
    หลังการสิ้นพระชนม์ของพระมะหะหมัดใน ค.ศ. 632  จักรวรรดิมุสลิมมีการการปกครองโดยมีกาหลิบ และมีการแย่งชิงอำนาจดดยเชื้อพระวงศ์ของพระมะหะหมัดฝ่ายบิดาของมเหสีแต่ตอนหลังมีนายพลผู้หนึ่งชิงอำนาจไปแล้วตั้งราชวงศ์อุมัยยาร์ด ส่วนราชธานีของจักรวรรดิมุสลิมย้ายไปยังเมืองดามัสกัส ทำให้ศูนย์กลางของจักรวรรดิมุสลิมเปลี่ยนจากคาบสมุทรอารเบียเป็นบริเวณแถบเมดสโปเตเมีย จากนั้นเข้าไปในยุโรปก่อตั้งอาณาจักรมุสลิมในสเปนอิตาลีตอนใต้และแอฟริกาตอนเหนือ       


อารยธรรมมุสลิม    ระหว่างคริสต์ตวรรษที่ 5-11 ยุโรปตะวันตกกำลังอยู่ในยุคกลาง แต่จักรวรรดิมุสลิมกลับเจริญก้าวหน้าอย่างมากมายและมีส่วนสำคัญในการเสริมความก้าวหน้าของจักรพรรดิไบแซนไทน์อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรปตะวันตกในเวลาต่อมาด้วย

    ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 จักพรรดเลโอที่ 3 ทรงยกเลิกการเคารพบูชารูปเคารพและรูปปั้นทั้งในโรมันตะวันออกและโรมันตะวันตกทำให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย เป็นเหตุให้สถาบันจักรพรรดิสูญเสียอำนาจ ก็ไม่สามารถฟื้นฟูอำนาจของสถาบันจักรพรรดิได้สำเร็จ และแยกกันอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ 1054
จักรวรรดิไบแซนไทน์และความสำคัญที่มีต่อโลกตะวันตก
    กฎหมายและการปกครองมีการรวบรวมและปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับซึ่งจำแนกได้เป็น 4 ส่วนได้แก่

    สถาบันคริสต์ศาสนาของโรมันตะวันตกมีความแตกต่างจากโรมันตะวันออกหลายด้านทำให้กรุงคอนสแตนติโนเปิดลกลายเป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาแบบ Christian Hellenism ซึ่งต่อมาในศตวรรษที่ 11 ได้กลายเป็นนิกายออร์โธดอกซ์ กับคำสอนในคริสต์ศาสนาที่ผ่านการตีความของจักรพรรดิคอนสแตนตินทำให้นิกายนี้เชื่อว่าจักรพรรดิเป็นตัวแทนของพระเจ้า
    ในปี ค.ศ. 325 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงจัดลำดับเมืองสำคัญทางศาสนาเป็น 5 เมือง คือ โรม คอนสแตนติโนเปิล อเล็กซานเดรีย แอนดิออชและเยรูซาเล็ม

    จักรวรรดิไบแซนไทน์หรือโรมันตะวันออกมีการปกครองแบบเอกาธิปไตย (Autocrat) โดยจักรพรรดิทรงมีอำนาจสูงสุดทั้งด้านการปกครองจักรวรรดิและทางศาสนา เพราะทรงเป็นตัวแทนแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย ทรงดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสูงสุดในจักรวรรดิ
    จักรวรรดิโรมันตะวันออกมีอายุยืนยาวตั้งแต่ ค.ศ. 330-1453 เนื่องมีสภาพภูมิประเทศเหมาะสมคล้ายป้อมปรากการมีเทือกเขาถึงเจ็ดเทือกและแม่น้ำล้อมรอบทำให้ยากต่อการเข้าตี
    ปัญหาสำคัญที่ทำให้จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์เสื่อมอำนาจ คือ ความขัดแย้งภายในทางศาสนา จนไม่สามรรถต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิมุสลิมในเอเชียไมเนอร์ และแอฟริกาได้ ความอ่อนแอของสถาบันจักรพรรดิในชั้นหลังก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกจักรวรรดิมุสลิมยึดครองในตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15


จักรวรรดิไบแซนไทน์และคริสต์ศาสนา

    จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก ถือกำเนิดจากการที่จักรพรรดิไดไอเคลเตียน (ศ.ค. 285-305 ) ทรงดำริว่าจักรวรรดิดรมันอันมีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาลควรมีการปกครองแบบ Tetrarch คือ แบ่งศูนย์กลางทางการปกครองออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ จักรวรรดิดรมันตะวันตากกับจักรวรรดิโรมันตะวันออก

การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์

ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกสมัยกลาง

ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกสมัยกลาง
ความหมายของยุคกลาง (ค.ศ. 410 – 1494)
    ยุคกลางเป็นยุคมืดแห่งศิลปะวิทยาการ นักคิดในยุคฟื้นฟูสิลปวิทยาการ (คริสต์ศตวรรษที่ 15) และนักคิดแห่งสำนักฟิโลซอฟ (The Philosophes) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งมีวอลแตร์ (Francois Voltaire) เป็นผู้นำเสนอว่ายุคกลางเป็นยุคที่ยุโรปหยุคนิ่งทางศิลปะวิทยาการ และอยู่ระวห่างความเจริญของโลกคลาสสิกกับความรุ่งเรืองของยุโรปสมัยใหม่ซึ่งเริ่มต้นเมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกทำลายจนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (ต้นคริสศตวรรษที่ 5-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15)

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของยุคกลาง    ยุคกลางตอนต้น เป็นยุคแห่งความสำเร็จพวกนอร์ธแมน เป็นยุคแรกของสังคทมศักดินาซึ่งทำให้เกิดการชะงักงันทางปัญญาไร้กฎระเบียบ วินัยและมีการผสมผสานกันของศาสนาคริสต์กับอารยธรรมกรีก-โรมัน
    ยุคกลางช่วงรุ่งเรือง เป็นยุคทองของสังคมศักดินาและสถาบันศาสนา คริสตจักรและอาณาจักรอยู่ภายใต้การชี้นำของพระสันตะปาปามีการฟื้นฟูปรัชญาของอริสโตเติลทำให้สังคมฟื้นตัวทางปัญญาและเศรษฐกิจ
    ยุคกลางตอนปลาย เป็นยุคเสื่อมของสถาบันศาสนาและระบอบศักดินา มีการสร้างรัฐประชาชาติและยอมรับอำนาจกษัตริย์สนใจปรัชญากรีก-โรมัน นำไปสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยาการความก้าวหน้าทางแพทย์

ความหมายของระบบศักดินา
    Feudalism มาจากคำว่า Fief แปลว่า ที่ดินแปลงหนึ่ง หมายถึงระบบการปกครองและโครงสร้างทางสังคมที่เน้นความสำคัญของกรรมสิทธิ์ที่ดินการเป็นเจ้าของที่ดิน การเป็นเจ้าของที่ดินเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของสิทธิ์อำนาจทางการเมืองและสังคมหาก ปราสจาก กรรมสิทธิ์ในที่ดินบุคคลก็ไม่สามารถอ้างสิทธิทางการเมืองได้
ความเป็นมาของระบบศักดินา
    กรุงโรมแตกหลังการโจมตีของอนารยชนเผ่าเยอรมัน 3 ครั้งในปี ค.ศ. 410 ค.ศ. 455 และ ค.ศ. 476 ผู้นำชาวเยอรมันเผ่าวิซิกอธ ได้ตั้งตัวเป็นประมุขและทำลายอารยธรรมทุกอย่างในดินแดนเหนือเทือกเขาแอลป์ จนความเจริยต่าง ๆ สูญสิ้นลงไปอย่างสิ้นเชิง
    ปัจจัยในการก่อตัวของระบบศักดินาแบ่งออกเป็น 3 ประการคือ
  • การรับจารีตการปกครองทางโลกมาจากโรมัน
  • การรับรูปแบบการปกครองทางศาสนามาจากโรมัน
  • โครงสร้างทางสังคมของอนารยชนเผ่าเยอรมัน
สังคมยุคกลาง    Manor เป็นหน่วยปกครองทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจระดับพื้นฐานในยุคกลางเชื่อมดยงเจ้าที่ดิน (Lord) กับประชากรเอาไว้ การปกครองนี้เรียกว่าระบบ Manorialismการเมืองยุคกลาง    หลังการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 อนารยชนเผ่าเยอรมันได้ตั้งอาณาจักรเล็ก ๆ ทั่วไปในยุโรปใต้ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5-8 ดังนี้
    พวกวิซิกอธ รุกเข้าตอนใต้ของฝรั่งเศสและตอนเหนือของสเปน ก่อตั้งแคว้นอาควิเตน มีตูลูสเป็นเมืองหลวง
    อำนาจของชนเผ่าเยอรมันมาจากการใช้คมหอกสั้นปลายแคบและเครื่องมือเหล็กเพราะปลุกไม่รู้จักใช้เงินชอบการต่อสู้ กษัตริย์มีอำนาจสูงสุดมากจากการเลือกตั้งยกย่องเพศหญิงมากกว่าสังคมโรมัน เด็กชาย-หญิงได้รับการอบรมเลี้ยงดูเทียมกัน
คริสตศาสนา
    คริสต์ศาสนาเผยแพร่ในจักรวรรดิโรมันตั้งแต่ต้นคริสตกาลแต่ไม่ได้รับความนิยมต่อมาในปี ค.ศ. 312 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงยอมให้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้ทำให้ชาวโรมันทิ้งลัทธิการบุชาเทพเจ้าและภูตผี การคุกคามของอนารยชนและการแย่งชิงอำนาจของผู้ปกครองจึงทำให้ชาวโรมันหันมานับถือคริสต์ศาสนา หลังจักรวรรดิโรมันตะวันตกสิ้นสุดลง คริสต์ศาสนาเป็นสถาบันเดียวที่ยื่นหยัดได้ภาขใต้การนำของพระสันตปาปา แต่จักรพรรดิกลับหมดอำนาจสิ้นเชิง
อาณาจักรคาโรลินเจียน
    อาณาจักรคาโรลินเจียนพัฒนามาจากอาณาจักรเมโรวินเจียนในแคว้นกอล ซึ่งยอมให้พลเมืองนับถือศาสนาคริสต์ในปลายคริสต์ดศตวรรษที่ 5 ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 อำนาจของอาณาจักรเมดรวินเจียนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขุนนางตระกูลคาโรลินเจียน
    อาณาจักรคาโรลินเจียนเริ่มเสื่อมลงในสมัยพระเจ้าหลุยส์ ทำให้อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามสัญญาแวร์ดัง  (the treaty of Verdun) คือ
    - ส่วนแรก จักรพรรดิ Lothair ปกครองอาณาจักรส่วนกลางได้แก่อิตาลี เบอร์กันดีอัลซาด ลอเรนท์ เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก
    - ส่วนที่สอง Louis the German ปกครองเยอรมัน
    - ส่วนที่สาม Charlethe Bold ปกครองฝรั่งเศส

การฟื้นตัวของเมือง
    ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมันทำให้เมืองศูนย์กลางทางการค้าและศิลปวัฒนธรรมสิ้นสุดบทบาทาลงไปด้วยสำนักบาทหลวงและโบสถ์ในชนบทจึงกลายเป็นศูนย์กลางแห่งการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแทนเมืองนานกว่า 500 ปี

สมาคมการค้าหรือสมาคมอาชีพ
    นอกจากนี้นักรบ นักคิด นักเขียนและอื่น ๆ ก็ต้องเป็นสมาชิกสมาคมที่เกี่ยวข้องกับอาชีพตน แต่ละสมาคมก็มีระเบียบและจรรยาบรรณควบคุมสมาชิกให้ทำงานได้มาตรฐาน เช่นหากคนทำขนมปังทำขนมปังไม่ได้น้ำหนักก็จะถูกเอาขนมปังห้อยคอประจาน คนทำไวน์ผลิตไวน์ไม่มีคุณภาพก็ถูกบังคับให้ดื่มไวน์แล้วเอาส่วนที่เหลือราดตัว และสมาคมอาชีพยังกีดกันมิให้สมาชิกผลิตสินค้าอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงไว้ทำให้ขาดการคิดสร้างสรรค์สินค้าอื่นออกสู่ท้องตลาด ครั้งถึงสมัยกลางตอนปลายสภาวะเช่นนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อความคิดเรื่องปัจเจกชนมาแทนที่
กำเนิดมหาวิทยาลัยในยุโรป    
     มหาวิทยาลัยบางแห่งเกิดจากการรวมตัวของอาจารย์และปัญญาชนกลุ่ม University อันเป็นองค์กรทางวิชาชีพในเมือง มหาวิทยาลัยบางแห่งขยายตัวมาจากโรงเรียนวัน บางแห่งเกิดจากการรวมตัวของอาจารย์และนักศึกษาการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยแพร่หลายมากระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 มหาวิทยาลัยปารีสมีชื่อเสียงมากที่สุดทางตอนเหนือ มหาวิทยาลัยโบโลญยาในอิตาลีมีชื่อเสียจงที่สุดทางตอนใต้
    ด้านการเรียนการสอนนั้น มหาวิทยาลัยยังไม่มีอาคารเรียน ห้องสมุดหรืออุปกรณ์จึงต้องใช้โบสถ์หรือห้องโถงของมหาวิหารหรือห้องเช่าเพื่อการเรียนทำให้อาจารย์และนักศึกษามักย้ายมหาวิทยาลัยไปยังต่างเมือง เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องค่าเช่าสถานที่อาหาร

สงครามครูเสด
    ความขัดแย้งระหว่างคริสต์กับอิสลามตั้งแต่ต้นคริสศตวรรษที่ 7 เป็นสาเหตุของสงครามครูเสด เมื่อชาวมุสลิมรุกรามและยึดครองยุโรปบางส่วนทำให้ชาวคริสต์ขัดขวางการขยายตัวของศาสนาอิสลามซึ่งชาวคริสต์ถือว่าเป็นภัยต่อจักรวรรดิไบแซนไทน์และนิกายกรีกออร์โธดอกซ์
    สงครามครูเสดเกิด 9 ครั้ง การรบครั้งแรกระหว่าง ค.ศ. 1096-1099 เท่านั้นที่เกิดจากศรัทธาอันแรงกล้าต่อพระจ้าไม่มีเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจและอื่น ๆ มาเกี่ยวข้องทำให้นักรบครูเสดสามารถยึดครองกรุงเยรูซาเล็มและจัดระบบการผกครองแบบฟิวดัลที่เยรุซาเล็มได้แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ถูกผลักดันกลับในสงครามครูเสดครั้งที่ 2

ผลกระทบของสงครามครูเสด
    ผลจากสงครามทำให้ชาวคริสต์เปิดรับความรู้ภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและทัศนคติกับชาวตะวันออกอย่างกว้างขวางส่งผลให้การค้าเจริญเติบโตขึ้นอาทิ สินค้าประเภทผ้าฝ้ายฯลฯ และกระตุ้นให้มีการเร่งผลผลิตทางเกษตรกรรมและหัตถกรรมเมื่อชาวยุโรปนำวิทยาการกลับมาเผยแพร่จึงก่อให้เกิดความตื่นตัวทางการศึกษาและศิลปะทำให้ระบบฟิวดัลและระบบแมนเนอร์ซึ่งปิดกั้นเสรีภาพและความสามารถของปัจเจกชนถูกทำลาย

วรรณกรรมสมัยกลาง
    วรรณกรรมสมันกลางมีทั้งวรรณกรรมทางโลกและทางศาสนา
วรรณกรรมทางศาสนาเขียนเป็นภาษาละติน งานชิ้นหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความคิดของคนสมัยกลางมาก คือเทวนคร โดยนักบุญเขียนตั้งแต่ปลายสมัยโรมัน กล่าวถึงการสร้างโลกและกำเนิดของมนุษย์ การไถ่บาปและการพิพากษาครั้งสุดท้ายก่อนที่มนุษย์จะกลับไปสู่ดินแดนของพระเจ้า

การเสื่อมอำนาจของศาสนาจักร
    ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนจักรมีอำนาจสูงสุดพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3ทรงมีฐานเป็นประมุขทั้งทางโลกและทางธรรมจากการที่ทรงใช้อำนาจครอบงำเหนืออาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งกษัตริย์และขุนนางในยุโรปตะวันตกต่างก็เชื่อฟังพระองค์
    การแตกแยกทางศาสนาเป็นเหตุให้ศาสนจักรเสื่อมอำนาจและศรัทธาสังคมยุโรปจึงเปิดโอกาสให้พวกนกรีตแม่มด หมดผีเข้ามีบทบาทต่อชีวิตชาวเมืองสังคมยุโรปจึงเน่าเฟะจึงเป็นที่มาของการปฏิรูปศาสนาคริสต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16


ระบบศักดินา

ความหมายของระบบศักดินา     Feudalism มาจากคำว่า Fief แปลว่า ที่ดินแปลงหนึ่ง หมายถึงระบบการปกครองและโครงสร้างทางสังคมที่เน้นความสำคัญของกรรมสิทธิ์ที่ดินการเป็นเจ้าของที่ดิน การเป็นเจ้าของที่ดินเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของสิทธิ์อำนาจทางการเมืองและสังคมหาก ปราสจาก กรรมสิทธิ์ในที่ดินบุคคลก็ไม่สามารถอ้างสิทธิทางการเมืองได้
ความเป็นมาของระบบศักดินา
    กรุงโรมแตกหลังการโจมตีของอนารยชนเผ่าเยอรมัน 3 ครั้งในปี ค.ศ. 410 ค.ศ. 455 และ ค.ศ. 476 ผู้นำชาวเยอรมันเผ่าวิซิกอธ ได้ตั้งตัวเป็นประมุขและทำลายอารยธรรมทุกอย่างในดินแดนเหนือเทือกเขาแอลป์ จนความเจริยต่าง ๆ สูญสิ้นลงไปอย่างสิ้นเชิง
    ปัจจัยในการก่อตัวของระบบศักดินาแบ่งออกเป็น 3 ประการคือ

  • การรับจารีตการปกครองทางโลกมาจากโรมัน
  • การรับรูปแบบการปกครองทางศาสนามาจากโรมัน
  • โครงสร้างทางสังคมของอนารยชนเผ่าเยอรมัน

ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการและสมัยบารอค-รอคโคโค

ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการและสมัยบารอค-รอคโคโค

     สมัยการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม วัฒนธรรมเศรษฐกิจและการเมืองเกิดขึ้นก่อนในอิตาลีก่อน จากนั้นก็เผยแพร่ไปทางยุโรปตอนใต้ ได้แก่ ฝรั่งเศสเยอรมนีตอนใต้ และสเปน ส่วนยุโรปทางเหนือนั้นรับอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงจากอิตาลีเช่นกันแต่เน้นการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด และข้อปฏิบัติทางคริสต์ศาสนาสาเหตุที่สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเกิดขึ้นก่อนในอิตาลี    ประการที่หนึ่ง    สภาพทางภูมิศาสตร์ อิตาลีเป็นที่ตั้งของกรุงโรม ศูนย์กลางของอารยธรรมโรมัน
    ประการที่สอง     สงครามครูเสด ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลายาวนานร่วมสองศตวรรษตลอดเวลาของสงคราม
    ประการที่สาม    ความเสื่อมโทรมของสถาบันทางคริสต์ศาสนาฝ่ายบริหารขององค์กรศาสนา ประพฤติตัวเหลวแหลกเป็นส่วนใหญ่
    ประการสุดท้าย    สภาพเศรษฐกิจและสังคมดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ชาวอิตาลีค้าขายของจนร่ำรวยแล้วก็พยายามมหาทางเข้าไปมีบทบาททางการปกครอง

ลักษณะศิลปวัฒนธรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
       ชนชั้นกลางมีบทบาทสูงสุดชนชั้นกลาง คือ พ่อค้าเป็นกลุ่มที่ควบคุมทั้งด้านการ ปกครอง การเมือง ทหาร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ศิลปะทุกด้านนิยมความสวยงามตามแบบกรีก-โรมันแม้อิทธิพลของศิลปะกอธิกและไบแซนไทน์จะมีอยู่บ้างแต่ศิลบปกินอิตาเลียนได้นำศิลปะแบบกรีก-โรมันมาเป็นแม่แบบแล้วเพิ่มเทคนิคใหม่ ๆ
เป็นสมัยที่ภาษาและวรรณคดีมีแบบแผนสมบูรณ์สละสลวยตามแบบภาษาและวรรณคดีกรีก-โรมัน ชนชั้นกลางโดยทั่วไปนิยมศึกษาวรรณคดีกรีและภาษีละติน
เน้นแนวความคิดตามอุดมการณ์ของลัทธิมนุษย์กนิยม

ลักษณะของวรรณคดี
    การเปลี่ยนแปลงทางวรรณคดีจากสมัยยุคกลางมาสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนี้จะเริ่มจะเริ่มเห็นได้ชัดตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 ลักษณะวรรณคดีในยุคนี้จะแตกต่างจากยุคกลางแทบจะโดยสิ้นเชิง
    ลักษณะคำประพันธ์ต่าง ๆ จะเลียนแบบคำประพันธ์ของกรีก-โรมันทุกด้านมีการพิมพ์บทประพันธ์ภาษากรีก-ละติน เป็นภาษาท้องถิ่นด้วยเรื่องราวเทพนิยายกรีกจึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย

ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
    ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการศิลปะในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนั้นได้นำหลักการศิลปะกรีก-โรมัน มาผสมผสานเข้กับเทคนิคใหม่ ๆ ของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้แก่การจัดให้มี แสง เงา ช่องว่า และภาพี่แสดงการเคลื่อนไหวและเพื่อให้ภาพดูใกล้ความเป็นจริงศิลปินจึงได้เพิ่มภาพลวงให้เห็นส่วนลึกเข้าไปด้วย
    จุดเริ่มต้นของศิลปะเรอแนสซองส์เริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบศิลปะให้ต่างจากยุคกลางตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 จากผลงานนิโคลา ปิซาดน ผู้ออกแบบและสร้างแท่นสวน วัดที่เมืองปิชา เป็ดภาพนูนเกี่ยวกับประวัติของพระเยชูโดยใช้รูปแบบและกลวิธีอย่างประติมากรรมกรีก-โรมัน ประติมากรรมดังกล่าวจึงมีชื่อเสียงและกลายบันดาลใจให้กับศิลปินเรอแนสซองส์ระยะต่อมา
    ศิลปะเรอแนสซองส์ส่งผลให้มีผู้อุปถัมภ์ศิลปินอย่างคึกคัก สภาวการณ์ดังกล่าวจึงกระทบต่อทัศนคติของศิลปินเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุนี้ไม่เคิลแองเจโลจึงเป็นทั้งกวี จิตรกรสถาปนิกกระทบต่อทัศนคติของศิลปินเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ไม่เคิลแดงเจโลจึงเป็นทั้งกวี จิตรกรสถาปนิกและวิศวกรส่วนเลโอนาร์โด ดาวินซี ก็เป็นทั้งศิลปิน นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร


ศิลปินสมัยเรอแนสซองส์ ยุครุ่งเรือง
    ลีโอนาร์โด ดา วินชี มีผลงานส่วนใหญ่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ได้รับการยกย่องในสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองผลงานของดาวินชีเป็นสะพานเชื่อมระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15-16
    นอกจากลีโอนาโด ดาวินชีแล้วศิลปินสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองแล้วอัลเบรคท์ดูเรอร์ ศิลปินชาวเยอรมัน ก็ได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ผลงานสำคัญชิ่นหนึ่งคือภาพเหมือนศิลปิน จัดแสดงที่เมืองมิวนิคแต่ผลงานของเขากลับส่งอิทธิพลอย่างกว้างขวางแก่ศิลปินในอิตาลีและเนเธอร์แลนด์ยกเว้นเยอรมนี

การปฏิรูปศาสนา    ในระหว่างคริสศตวรรษที่ 14-15 สถาบันคริสต์ศาสนาประสบกับความท้าทายอำนาจอย่างมากจากหลายฝ่ายนอกจากพลังทางความคิดแบบปัจเจกชนนิยมแล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจสังคมและการปกครองกลายเป็นปัจจัย สำคัญที่สั่นคลอนอำนาจของศาสนาจักร
    กลุ่มที่ต้องการแก้ไขปรับปรุงแก้ไขข้อ ปฏิบัติต่าง ๆ ของศาสนาจักรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มมนุษยธรรมคริสเตียน
กลุ่มของเจ้าหน้าที่ในองค์การศาสนาคริสต์

บทบาทของมาร์ติน ลูเธอร์
    เมื่อมาร์ติน ลูเธอร์เริ่มงานปฏิรูปศาสนา จุดประสงค์ระยะแรกของเขาคือ ต้องการให้มีการจัดระบบการบริหารภายในสถาบันศาสนาใหม่โดยใช้ระบบผู้แทนแทนระบบการแต่งตั้งอีกทั้งต้องการให้มีการปฏิรูปศาสนาในระดับต่าง ๆ และลดความสำคัญของพระสันตปาปาในการแต่งตั้งและมีอำนาจเหนือพระราชาคณะใน ค.ศ. 1517 ลูเธอร์เสนอหลักการ 95 ประการ ติดประกาศที่บานประตูโบสถ์ ณ เมืองวิตเตนเบอร์ก โจมตีความเสื่อมทรามของศิลธรรมจรรยาของพวกพระและการปฏิพฤติปฏิบัติผิดในคริสต์ศาสนา

แนวคิดและหลักการของลูเธอร์
    หลักการปฏิบัติของลูเธอร์ที่แตกต่างจากองค์การคริสต์ศาสนาจักรมี 3 ประการ ดังนี้
ศรัทธาโดยความเชื่อไม่ใช่โดยการกระทำ
อำนาจสูงสุดของพระคัมภีร์คือสิ่งเดียวที่ตัดสินความถูกต้อง
คริสต์ศาสนิกชนทุกคนเป็นพระได้ทั้งนั้น

ความคิดทางการเมืองของลูเธอร์
    ในความคิดทางการเมืองลูเธอร์สนับสนุนอำนาจการปกครองสูงสุดของฝ่ายบ้านเมืองทั้งนี้เพราะลูเธอร์ไม่ต้องการให้ศาสนาเข้ไปมีส่วนรับผิดชอบในทางโลก เขายอมรับว่ารัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง และเป็นหน้าที่ของคนในบังคับที่ต้องเชื่อฟังฝ่ายปกครอง

แนวความคิดของจอห์น คาลแวง     การปฏิรูปศาสนามีผลโดยตรงต่อประเทศตะวันตก กล่าวคือได้แบ่งแยกคริสต์ศสนิกชนเป็น 2 นิกายคือ นิกายโรมันคาทอลบิกสนับสนุนพระสันติปาปาแห่งกรุงโรมก็แบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ จำนวนมาก
ก่อให้เกิดปฏิรูปนิกายโรมันคาทอลิก หลังจากที่หลายประเทศในยุโรปมีการปฏิรูปศาสนาและยอมรับนิกายโปรแตสแตนท์ ซึ่งฝ่ายคาทอลิกประมาณว่าเป็นการปฏิวัติต่อต้านอำนมาจสูงสุดที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าและเป็นการปฏิวัติทางศาสนา

ผลการปฏิรูปทางศาสนาที่มีต่อโลกตะวันตก
    การปฏิรูปศาสนา ทำให้สังคมตะวันตกซึ่งเคยมีคริสต์ศาสนาเป็นศูนย์รวมของผู้คนหลายหลายชาติภายใต้ศรัทธาและความเชื่อเดียวกันเกิดความแตกแยกและหันไปนับถือคริสตศาสนานิกายต่าง ๆ และเกิดขันติธรรมทางศาสนาทำให้ประเทศต่าง ๆ หันมาปรับปรุงประเทศของตนแทนการยึดติดกับศาสนา จนเกิดแนวทางใหม่ในสังคมตะวันตกโดยที่ผู้ปกครองเป็นอิสระจากการครอบงำของศาสนาคริสต์ดังเช่นสมัยกลาง

ศิลปะบารอค    ยุคบารอคกำเนิดขึ้นเป็นครั้-แรกที่ประเทศอิตาลี แล้วขยายวงกว้างออกไปทั่วยุโรประหว่าง ค.ศ. 1550-1750 เจริญสูงสุดระหว่าง ค.ศ. 1680-1730 ในช่วงนี้มีชื่อเรียกว่ายุคในทางศิลปะ ระยะเวลา 200 ปีตั้งแต่ช่วงปลายยุคเรอแนสซองส์ได้เกิดแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะที่แปลกไปจากสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรืองทั้งจิตรกรรมประติมากรรมสถาปัตยกรรมวรรณกรรรมและคนตรีเรียกว่า ศิลปะบารอคคำว่า ลักษระที่ผิดเพี้ยนไปจากระเบียบวีคิดทางการสร้างสรรค์ต้นแบบ
จิตรกรรม
    จิตรกรรมสมัยบารอคเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาจิตรกรรมสมัยเรอแนสซองส์ยุครุ่งเรือง โดยเน้นให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแสงเงาเพื่อให้ดึงดูดความสนใจและความประทับใจเมื่อเกิดการปะทะรับรู้ทางการมองเห็นอย่างฉับพลัน ลักษณะเด่นอีกประการของจิตรกรรมบารอค คือ ภาพคนจะแสดงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอย่างหรูหรา

คาราวัคโจ
    คาราวัคโจ ได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ศิลปะว่า เป็นศิลปินสมัยบารอคคนแรก ที่ปูทางไว้ให้กับรูเบนส์ เรมบรานท์และเวอร์เมียร์ แม่นยำเรื่องกายวิภาคศาสตร์ของคน มักจะเขียนภาพเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา

เทคนิคแนวทางศิลปะของเรมบรานท์
    แทนที่จะเขียนภาพเพื่อเหตุผลทางศาสนาเขากลับกลับเขียนภาพที่มีเนื้อหาอื่นทำให้ภาพเขียนของเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพเขียนที่ยิ่งใหญ่เทคนิคทางสิลปะที่เรมบรานท์ใช้คือความแตกแนเรื่องหลักกายวิภาคศาสตร์ ผสมผสานกับการจัดภาพแบบกระจายซ่อนภาพรางๆ ไว้ในความมืด และให้แสงสว่างจ้าเป็นจุดเน้นของภาพกระจายเป็นจุด ๆ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนของเรมบรานท์ที่ส่งอิทธิพลแก่ศิลปินรุ่นหลังมากที่สุด
    ประติมากรรม ผลงานประติมากรรมสมัยบารอค มีลักษณะรูปแบบศิลปะที่แสดงองค์ประกอบอันวิจิตรอลังการเช่นเดียวกับจิตรกรรมแสดงท่วงท่าอย่างโลดโผนคล้ายการแสดงละคร
    เบอร์นินี เกิดในครอบครัวประติมากรมีชื่อเสียงเขาเป็นศิลปินทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรมมีโอกาสสร้างงานชุดที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นอาชีพประประกอบด้วยภาพ
    ศิลปะโรโกโก ปารกฎในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นแบบอย่างศิลปกรรมอีกแบบหนึ่งของบารอค หรือเป็นผลจากพัฒนาการของศิลปะบารอค นักวิชาการบางท่านถือว่าเป็นศิลปะกลุ่มเดียวกับศิลปะบารอค
    จิตรกรรมรอคโคโค จิตรกรรมโรโกโกมีลักษณะไม่แตกต่างจากงานประดับประดาตกแต่งทั่วไป จิตรกรจะเน้นรายละเอียดในการประดิษฐ์ตกแต่งส่วนประกอบย่อยมากมาย หรูหรา เกินธรรมชาติเพื่อเน้นในเกิดความหลงใหลในบรรยากาศแห่งภาพนั้น ๆ
    ดนตรีคลาสสิก ศิลปะการดนตรีมีวิวัฒนาการควบคู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานเช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรมการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมไปตามยุคต่าง ๆ  ตั้งแต่ดึงดำบรรพ์ในยุคกรีกและโรมันการดนตรีสอดแทรกอยู่ในงานเฉลิมฉลองต่างๆ  และกิจการทางศาสนาโดยเริ่มมาการใช้ตัวหนังสือแทนโน้ตดนตรีในศตวรรษที่ 5 เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายลงทำให้เป็นช่วงเวลาแห่งยุคมืด
    อุปรากร  ได้ถือกำเนิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 16 ณ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลีและได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดสูงสุดที่กรุงประเทสออสเตรียโดยคีตกวีกลุ๊ค และโมสาร์ท ในปลายศตวรรษที่ 18 และช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อุปรากรได้รับการพัฒนาต่อมาอีกอย่างรุ่งเรืองโดยคีตกวีที่มีชื่อเสียงได้แก่
    กรุงเวียนนายังเป็นศูนย์รวมของศิลปินท่านอื่น ๆ จำนวนมากในยุคนี้การดนตรีได้กลายเป็นชีวิตจิตใจของชาวยุโรปนักดนตรีและคตกวีได้รับการสนับสนุนและชุบเลี้ยงจากราชสำนักศิลปะการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสุมส่ง

สรุป

สรุป ประเทศกรีซเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน เเละมีสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมมากมาย ซึ่งบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตได้เป็นอย่างดี ประเทศกรีซประกอบด้วยเเผ่นดินใหญ่ในทางทิศใต้ไปจนถึงเเหลมบอลข่านเเละเกาะมากมายกว่า 3,000เกาะ ประเทศกรีซมีเเนวชายฝั่งทะเลยาวถึง 15,000กิโลเมตร ทะเลรอบ ๆ ประเทศกรีซ มีแมวน้ำ เต่าทะเล และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่หายากอาศัยอยู่ ในขณะที่ป่าของกรีซ เป็นบ้านหลังสุดท้ายของยุโรปตะวันตก ที่มีหมีสีน้ำตาล แมวป่า กวางโร แกะป่า สุนัขจิ้งจอก และหมูป่า  ประเทศกรีซจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวผู้ที่รักประวัติศาสตร์

 
อ้างอิง : ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกเพื่อการนำเที่ยว : พิทยะ  ศรีวัฒนสาร

เกาะมิโคนอส

                                                                     เกาะมิโคนอส

เกาะมิโคนอส  (Myconos) เกาะแห่ง Jet Set หรือเหล่าชนชั้นสูงทั่วโลกที่ต่างนิยมล่องเรือยอร์ทมาพักผ่อนตากอากาศ และเป็นเกาะที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในหมู่เกาะ ไซคลาดิก ด้วยทิวทัศน์และ บริเวณตอนกลาง เยื้องลงมาทางใต้ของทะเลอีเจียน อยู่ห่างจากกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ 94 ไมล์ทะเล
  ซึ่งสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มายังเกาะนี้คือ น้ำทะเลสีเขียวเข้มใสสะอาดและหาดทรายสีทอง ที่โดดเด่นโดนใจอีกอย่างก็คือบรรดาบ้านช่องทรงสี่เหลี่ยมบนเกาะล้วนทาสี ขาวสะอาดตา สัมผัสมนต์เสน่ห์ของกลุ่มบ้านริมทะเลอีเจี้ยนที่ถูกขนานนามว่า เมืองเวนิซน้อยๆ “Small Venice” (Mikri Venetia) ถือว่าเป็นอีกจุดที่ถูกถ่ายภาพมากที่สุด ริมทะเลอีเจี้ยน ที่มีบรรยากาสคล้ายคลึงกับนครเวนิส ประเทศอิตาลี มหัศจรรย์กับ Windmills หรือกังหันกลางทะเลที่เรียกว่า Kato myloi ซึ่งในอดีตมีมากกว่า 20 อันปัจจุบันเหลือเพียง 7 อันเท่านั้น กังหันเหล่านี้ตั้งเรียงรายอยู่ริมชายฝั่งเป็นซิมโบลิกของภูมิปัญญาชาวบ้าน เนื่องจากเกาะนี้มีคลื่นลมแรงเกือบตลอดปี โดยเฉพาะช่วงเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม เป็นช่วงที่มีลมเข้ามามากที่สุด 

 

อ้างอิง : ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกเพื่อการนำเที่ยว : พิทยะ  ศรีวัฒนสาร

เกาะเอจิน่า

                                                                          เกาะเอจิน่า

    เกาะเอจิน่า หรือ เกาะนกพิราบ เป็นเกาะตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรเปโลปปอนเนส มีอู่ต่อเรือ กองเรือ และสามารถผลิตเงินเหรียญของกรีกรุ่นแรก ทำให้เกาะนี้มีอำนาจทางการเงินครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างในโลกยุคโบราณ เกาะนี้มีคฤหาสน์หรู และศูนย์รวมของเกาะนี้อยู่ในเอจีนาทาวน์ แบบฉบับของเมืองเล็กๆ ของกรีกเมื่อศตวรรษก่อน  ชมวิหารอาเฟอา สร้างขึ้นมากว่า 490 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนที่ชาวเอเธนส์จะยึดครอง วิหารนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นสถาปัตยกรรมดอริกยุคโบราณ และยังเป็นวิหารกรีกเพียงแห่งเดียวที่เหลืออยู่ที่มีเสาเล็กๆซ้อนทับเป็นแถว ที่สองอยู่ภายในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ และไม่ควรพลาดกับการซื้อถั่วพิสตาชิโอ ที่มีขายอยู่มากมายบนเกาะ 



                                                                          
                                      เกาะครีต
 

     ครีต (Crete) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะกรีกและเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับห้าในบรรดาเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีเนื้อที่ 8,336 ตารางกิโลเมตรครีตเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมิโนอัน (Minoan civilization) ที่เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาอารยธรรมกรีกที่รุ่งเรืองระหว่าง2600 ถึง 1400 ปีก่อนคริสต์ศักราช
    ในปัจจุบันครีตเป็นหนึ่งในสิบสามเขตการปกครองของกรีซ (Peripheries of Greece) และมีความสำคัญทางเศรฐกิจและวัฒนธรรมต่อกรีซ เดิมเกาะครีตรู้จักกันในชื่อภาษาอิตาลีว่า คันเดีย” (Candia) จากชื่อเมืองหลวงในยุคกลางเฮราคลิออน (Heraklion)ที่ตั้งของครีตมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ในปัจจุบันเป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ครีตเป็นที่ตั้งของ สถาที่สำคัญของอารยธรรมมิโนอันที่รวมทั้งคนอสซอส และ ไฟทอส (Phaistos), กอร์ทิส (Gortys), เมืองท่าคาเนีย  (Chania) ของเวนิส, ปราสาทเวนิสที่เรธิมโน (Rethymno) และ ซอกเขาซามาเรีย (Samaria Gorge) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเกาะครีตเป็นฐานทัพเรือของอิตาลีเมืองที่เป็นศูนย์กลางด้านกาคมนาคมบนเกาะครีตคือ เฮราคลิออน (Heraklion) นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเครื่องบินจากกรุงเอเธนส์มาลงที่เฮราคลิออน หรือที่สนามบินเมืองคาเนีย หรือเลือกเดินทางด้วยเรือข้ามฟากจากกรีซมายังเฮราคลิออนและคาเนียที่มีท่าเรือขนาดใหญ่
            เกาะครีตมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์เมื่อสมัยมิโนอันเรืองอำนาจ ซึ่งแต่เดิมมีกษัตริย์ปกครอง จึงมีพระราชวังโบราณที่เรียกว่าคนอสซอส (Palace of Knossos) อยู่ห่างจากเฮราคลิออนไปทางใต้ 5 กิโลเมตร พื้นที่โดยรอบถูกจัดเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง สิ่งที่ยังพบเห็นในปัจจุบันคือบางส่วนของตัวอาคารมีเสากลมสีแดงเรียงรายโดยรอบ และด้านในมีภาพเขียนแสดงให้เห็นความเป็นอยู่ของชาวมิโนอันในสมัยก่อน
Palace of Knossos

เมืองท่าคาเนีย  (Chania)


สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทางน้ำในทวีปยุโรป

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทางน้ำในทวีปยุโรป
     
                                                  ประเทศกรีซ


         กรีซ ( Greece) หรือเรียกอย่าางเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก ( Hellenic Republic) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกีทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน 

Modernism and Post-modernism

Modernism and Post-modernism

Modernism and Post-modernism
     สังคมที่เราอาศัยอยู่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอยู่ตลอดเวลา มีแนวคิดและการปฏิบัติที่แตกต่างขัดแย้งกันอยู่เสมอ แนวคิดและการปฏิบัติถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดปัญหาสังคมทุกยุคทุกสมัย  ในสังคมวิทยา ก็มีการคิดและการปฏิบัติที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง มีการคิดใหม่และทำใหม่อยู่เสมอ  (Meta-theories) ดังนั้น การศึกษาสังคมวิทยาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาวิเคราะห์รู้เข้าใจแนวความคิดทางสังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัยทั้งใหม่และเก่า เพื่อความรู้เข้าใจสังคมวิทยาปัจจุบัน จึงขอเสนอแนวความคิดทางสังคม 2 ประเภท คือ ความคิดสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ (Modernism and Postmodernism) ดังนี้

ความคิดสมัยใหม่ (Modernism) 

 
      ความคิดสมัยใหม่ (Modernism, Modernity or Modernization) ตาม Habermas (1987) และ Barry Smart กล่าวเอาไว้ว่า เริ่มมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 มาจากภาษาละตินว่า “modernus = modern” เป็นการพยายามทำให้เกิดความแตกต่างกันใหม่ในชาวคริสต์ จากการนับถือศรัทธาพระเจ้าไปสู่สิ่งอื่น แล้วต่อมาไม่นาน ก็มีการพยายามทำให้เกิดความแตกต่างกันใหม่อีกในชาวคริสต์ จากการนับถือศรัทธาพระเจ้าไปแสวงหาความรู้จริงสิ่งสากล พยายามรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายในสากลโลกตามความเป็นจริง รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายด้วยจิตหรือปัญญา เพราะอิทธิพลแนวความความคิดของคานต์ (Kant’s conception of a universal history) เป็นกระบวนการความแตกต่างทางความคิดและวัฒนธรรมจากเก่าไปสู่ใหม่ (Turner, 1991: 3) เป็นการแสวงหาความรู้จริงของสิ่งต่างๆ ทั้งหลายตามการเปลี่ยนแปลงเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าของโลกทางสังคม เพราะความเป็นมาของสังคมนี้เชื่อศรัทธาในพระเจ้าเป็นผู้สร้างกำหนดบันดาล ไม่เชื่อมนุษย์และธรรมชาติคือผู้สร้างกำหนดแสดง
       แนวคิดใหม่ทันสมัย นักปราชญ์หรือนักคิดทางสังคมบางคนกล่าวบอกว่า ควรนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เพราะเป็นยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) แต่นักสังคมวิทยาส่วนใหญ่เห็นว่า แนวคิดใหม่ทันสมัย (Modernism) เป็นยุคประวัติศาสตร์ของสังคมยุโรปตะวันตก ที่เกิดการวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพราะในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นยุคที่สนใจศึกษาค้นคว้าปรากฏการณ์ธรรมชาติแบบวิทยาศาสตร์ (Scientism) มาช่วยแก้ปัญหาสังคมทั้งหลายที่เกิดขึ้น แล้วส่งผลมีอิทธิพลต่อการศึกษาสังคมวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ของคองต์ในเวลาต่อมา (Comte’s positivism)
        ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงถือได้ว่าเป็นยุคความคิดใหม่ทันสมัย  (Modernism) อันหมายถึงยุคสมัยให้ความสนใจในเรื่องศิลปะ วรรณคดี วิทยาการ สถาบัน  เหตุผล  การศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์  รูปแบบของชีวิต ความจริงของชีวิตบนฐานของความเจริญเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก กล่าวคือเป็นช่วงเวลาแห่งความเจริญทางวัตถุ ความมั่นคงทางสังคม และความรู้เข้าใจตนเอง (Material progress, social stability and self-realization) ในยุโรปตะวันตก มีอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส  อิตาลี เป็นต้น แม้มีปัจจัยต่างๆ มากมายที่ทำให้เกิดสมัยใหม่ ปัจจัยสำคัญเหล่านี้ คือ ความจริง (Truth) เหตุผล (Rationality) วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) ผลของอุตสาหกรรม (Emergence of capitalism) การแผ่อำนาจทางตะวันตก (Western imperialism) การแพร่กระจายความรู้ และอำนาจทางการเมือง (Spread of literature and political power) การขับเคลื่อนทางสังคม (Social mobility)    เป็นสาเหตุสำคัญสนับสนุนส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพัฒนาสังคมโลก ที่เรียกกันว่าสมัยใหม่ความทันสมัย (Modernism)” เพราะผลของความเจริญทางการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และการขับเคลื่อนทางสังคม ทำให้มนุษย์ต้องการรู้เข้าใจตนเองและสังคมมากยิ่งขึ้นตามลำดับ ทำให้ต้องมาคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อความถูกต้องดีงามแบบสากล แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมโลกร่วมกัน เพื่อความรู้เข้าใจใหม่ร่วมกัน จึงขอลำดับเหตุการณ์การวิวัฒนาการแนวความคิดใหม่ทันสมัย ดังนี้
     
       คริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ               ในสังคมยุโรปตะวันตก ได้สนใจและค้นพบวิทยาการเก่าๆ ทั้งหลาย โดยเฉาะงานของเพลโต้ (Plato) และอริสโตเติ้ล (Aristotle) ยุคนี้ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟูอย่างมาก แต่ก็มีกลุ่มนักคิดนักปราชญ์พยายามปฏิเสธความเชื่อและคำสอนเกี่ยวกับพระเจ้า เนื่องจากพวกเขาเห็นว่า เป็นสิ่งไม่มีตัวตน มองไม่เห็นสัมผัสจับต้องไม่ได้ เป็นเรื่องงมงายไร้เหตุผลพิสูจน์ไม่ได้ จึงได้เกิดแนวคิดความเชื่อและลัทธิใหม่ขึ้นมา โดยเฉพาะความคิดความเชื่อในเรื่องความเป็นมนุษย์ ความจริงความถูกต้องดีงาม มาแทนความคิดความเชื่อเคารพศรัทธาในเรื่องพระเจ้า พยายามไล่กำจัดพระเจ้าออกไปจากสังคมมนุษย์ เพราะอิทธิพลแนวความคิดของเพลโต้ (Plato) และอริสโตเติ้ล (Aristotle)  มองเห็นคำสอนของศาสนาดั้งเดิมเป็นของเก่าล้าหลังไม่ทันสมัย เป็นการจุดประกายแสวงหาความจริงความถูกต้องดีงามขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากถูกปิดกั้นมานาน โดยแนวความคิดความเชื่อที่ว่า  สรรพสิ่งทุกอย่าง มนุษย์ โลก มาจากเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ที่สร้างกำหนดลิขิตบันดาลให้เป็นไปในโลกทางสังคม ทรงเอาพระทัยใส่ใจดูแลทุกสิ่งทุกอย่างให้ดำเนินไปด้วยดี  สร้างมนุษย์ขึ้นมาก็เพื่อให้รู้จักกับพระองค์ท่าน ต้องปฏิบัติตามหลักคำสั่งสอนของพระองค์ท่าน มีความจงรักภักดีศรัทธาในพระองค์ท่าน ตายไปแล้วไปอยู่กับพระองค์ท่านในสวรรค์ ชีวิตเกิดขึ้นเป็นไปตามลิขิตบัญชาของพระองค์ท่านหรือเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่นี้ แนวคิดอย่างนี้เชื่อศรัทธาพระเจ้ามีอิทธิพลบทบาทอย่างมากต่อชีวิตและจิตใจของชาวโลกตะวันตกถึงปัจจุบัน
            
           คริสต์ศตวรรษที่ 15-16 ยุคแห่งการสำรวจและปฏิรูปศาสนาคริสต์              ศตวรรษนี้ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งการสำรวจ พร้อมกับเผยแผ่ศาสนาวัฒนธรรมล่าอาณานิคมหรือล่าเมืองขึ้น (ตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาของเรา, 1350-1767 AD) วิทยาการที่เจริญก้าวหน้าขึ้นทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์และการเดินเรือ นักสำรวจชาวยุโรปต่างพากันออกทะเลล่องเรือสำรวจโลกใหม่ทั้งทางตะวันตกและตะวันออกที่พวกเขาไม่เคยพบเห็นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นทวีปเอเชีย อเมริกา อาฟริกาหรือออสเตรเลีย การเดินทางของพวกเขาถือได้ว่าเป็นการเผยแผ่เชื่อมโยงวัฒนธรรมของโลกเป็นครั้งแรก เป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่กระจาย ความทันสมัยแบบตะวันตกไปทั่วโลก            ความเป็นไปในทุกระบบของสังคม มักมีศาสนาเข้าไปมีอิทธิพลบทบาทเกี่ยวข้องในทุกส่วน ระหว่างยุคกลางสังคมยุโรป (1000 – 1500 AD)  คริสต์ศาสนาอิทธิพลบทบาทอย่างมากในทุกระบบของสังคม การศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม เพราะความเจริญเปลี่ยนแปลงทางสังคม การปฏิรูปศาสนาคริสต์โดยคริสต์ศาสนิกชนกลุ่มหนึ่งก็เกิดขึ้น โดยการตั้งนิกายโปรเตสแตนต์ขึ้นมา  เนื่องจากพวกเขาเห็นว่า คริสต์ศาสนาแบบดั้งเดิมนิกายคาทอลิกเก่าล้าหลังไม่ทันสมัย ไม่ช่วยแก้ปัญหาชีวิตทางสังคมให้ดีขึ้น ซ้ำยังเป็นแหล่งมั่วสุมอิทธิพลผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม และพวกเขาเชื่อว่า คำสอนของนิกายใหม่โปรเตสแตนต์จะช่วยฟื้นฟูสนับสนุนส่งเสริมคำสอนเดิมให้ทันสมัยเหมาะสมกับยุคสมัยอย่างแท้จริง สามารถช่วยแก้ไขปัญหาสังคมได้ ทำให้เกิดการขัดแย้งทางความคิดและการปฏิบัติอย่างรุนแรง สร้างความสับสนสงสัยในศาสนาคำสอนเป็นอย่างมาก ส่งผลให้คริสต์ศาสนาแบบดั้งเดิมลดอำนาจอิทธิพลและบทบาทลงเป็นอย่างมาก นำไปสู่การแตกแยกระหว่างอาณาจักรและศาสนจักรในเวลาต่อมา 
          คริสต์ศตวรรษที่ 17 ยุคแห่งวิทยาศาสตร์              ในศตวรรษนี้ ศาสนาคริสต์มีอิทธิพลบทบาททางสังคมและการเมืองลดน้อยลงตามลำดับ (Secularization) เมื่อมีความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์มากขึ้น มนุษย์รู้จักใช้ปัญญาอย่างมีเหตุผล คิดมองเห็นชีวิตและสังคมตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องของเทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้เป็นไป แต่เป็นเรื่องของความจริงมีเหตุผล คนเลยหันไปสนใจในความจริงธรรมชาติและเหตุผลมากขึ้น สนใจความเป็นจริงของมนุษย์และโลกทางสังคม ศึกษาหาความรู้ต่างๆ ทั้งหลายที่สามารถพิสูจน์ทดลองได้ตามหลักวิธีการทางวิทยาศาสตร์  ศึกษาค้นคว้าพิสูจน์ทดลองอย่างมีเหตุผลเป็นระเบียบแบบแผน ที่เรียกกันว่าวิทยาศาสตร์สมัยใหม่” (New science)
            ความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้มนุษย์มีชีวิตที่สะดวกสบายพรั่งพร้อมไปด้วยวัตถุเครื่องอำนวยความสะดวกสมัยใหม่ ละเลยไม่สนใจความสุขทางจิตใจ เป็นสังคมวัตถุหรือวัตถุนิยม ความเจริญทำให้เกิดแนวคิดและทฤษฎีใหม่ต่างๆ มากมาย  ช่วยในการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและความเร้นลับทั้งหลายที่เคยสงสัยกันมา คำถามที่วิทยาศาสตร์พยายามแสวงหาคำตอบ คือ ความจริงแท้ของความเป็นมนุษย์คืออะไร มนุษย์จะปฏิบัติตนต่อสิ่งต่างๆ ทั้งหลายให้ถูกต้องได้อย่างไร พยายามรู้เข้าใจตนเองและสังคมอย่างถ่องแท้ เป็นคำถามเกี่ยวกับรูปแบบชีวิตและหลักการดำเนินชีวิตจริง โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการหาคำตอบเกี่ยวกับชีวิตและสังคมมนุษย์ ส่งผลให้เกิดการคิดใหม่ เขียนเรียบเรียงใหม่ และตั้งทฤษฎีใหม่ในหลายศาสตร์หลายด้าน (Metatheory = second order accounts of theories or second order theories of theories) ไม่ว่าในวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ แพทยศาสตร์ ไม่ว่าทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และพฤติกรรมมนุษย์ มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ กลายเป็นว่าความรู้แนวคิดทฤษฎีทั้งหลายที่มีอยู่เดิมนั้น ไม่ดีไม่ถูกต้องเที่ยงธรรมไม่มีเหตุผลไร้ประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

ความคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodernism)             

       จากการศึกษาวิเคราะห์สังคมและวัฒนธรรมตะวันตก พอจะได้ภาพปรากฏการณ์ธรรมชาติทั่วไปว่า  สังคมโลกตะวันตกเป็นสังคมที่เจริญพัฒนาถึงจุดสูงสุด พรั่งพร้อมสมบูรณ์ไปด้วยวัตถุ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ เป็นสังคมที่ผ่านพ้นความเจริญสูงสุดหรือผ่านเลยสังคมอุตสาหกรรมไปแล้ว (Postmodern society or postindustrial society) ผู้คนในยุคนี้หนักไปในการเสพบริโภคใช้สอย ที่เรียกกันว่า สังคมบริโภค (Consumer society) ภูมิหลังทางวัฒนธรรม  เป็นสังคมที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพระเจ้า เชื่อศรัทธาในเรื่องเทพเจ้า ในสากลโลกนี้ มีพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งทรงพลานุภาพสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใด ทรงสร้างสรรค์สรรพสิ่งทุกอย่าง ทรงกำหนดลิขิตบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างตามอำนาจของตน ทรงเอาพระทัยใส่ใจดูแลทุกสิ่งทุกอย่างให้ดำเนินไปด้วยดี สร้างมนุษย์ขึ้นมาก็เพื่อให้รู้จักกับพระองค์ท่าน มนุษย์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักคำสั่งสอนของพระองค์ท่าน เพื่อให้พระองค์ท่านโปรดปราน ตายไปแล้วไปอยู่กับพระองค์ท่านในสวรรค์ตลอดกาล ผู้ที่ไม่เคารพศรัทธายำเกรงในพระผู้เป็นเจ้า ตายไปแล้วดวงวิญญาณของเขาก็จะไปอยู่ในนรกตลอดกาลเช่นกัน แนวคิดและการปฏิบัติในลักษณะนี้ยังมีอิทธิพลแพร่กระจายครอบคลุมไปทั่วสังคม แม้ว่าสังคมตะวันตกเจริญพัฒนาถึงจุดสูงสุด พรั่งพร้อมสมบูรณ์ไปด้วยวัตถุ แทนที่จะสุขสมหวังกับความพรั่งพร้อมสมบูรณ์นั้น แต่กลับผิดหวังหาคุณค่าความหมายของชีวิตไม่ได้เหมือนเดิม กลับสร้างปัญหาก่อความเดือดร้อนให้กับสังคมมากกว่าเดิม เพราะขาดแคลนแร้นแค้นวัฒนธรรมทางจิต เกิดวิกฤตการณ์ทางวัฒนธรรมทางจิตอยู่เสมอ สับสนสงสัยไม่รู้เข้าใจในความจริงของชีวิตและหลักการดำเนินชีวิตอย่างต่อเนื่อง พยายามสนใจใฝ่รู้ในเรื่องความเป็นมนุษย์ คุณภาพมนุษย์ และลักษณะมนุษย์ (General sense of humanity, human qualities and identities) ไม่หยุดยั้งแม้แต่ในปัจจุบัน แม้วิทยาการตะวันตกเป็นแม่แบบแพร่กระจายไปทุกวงวิชาการทั่วโลก ความจริง ความรู้ที่เจริญถึงจุดสูงสุดแบบตะวันตกก็ยังไม่สามารถตอบปัญหาชีวิตทางสังคมได้ จึงสำคัญจำเป็นต้องกลับมาคิดทบทวนกระบวนการความคิดและองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งหลายกันใหม่ บนพื้นฐานความจริงสมัยใหม่ทันสมัย 
        ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 สังคมโลกตะวันตก เพื่อความเจริญถูกต้องดีงามของชีวิตและสังคม เกิดมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงพัฒนาแนวคิดทางสังคม เป็นการตีความอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมอีกครั้งหนึ่ง ตามปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น อันนำไปสู่การแตกทำลายหรือมาแทนความคิดสมัยใหม่(Modernism) ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างสมัยใหม่ทันสมัยและหลังสมัยใหม่ เพราะพวกเขาไม่มีความเชื่อมั่นในวิทยาการความรู้ที่มีอยู่ ความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาชีวิตทางสังคมได้อย่างแท้จริง จึงเกิดแนวความคิดทางสังคมตามภาพที่ปรากฏจริงอีกครั้งหนึ่ง ที่เรียกว่า ความคิดหลังสมัยใหม่ทันสมัย (Postmodernism) อันหมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรม ศิลปะ วิทยาการทั้งหลาย ความคิดทฤษฎีทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ความเชื่อและการปฏิบัติ รูปแบบชีวิต หลักการดำเนินชีวิต และเรื่องอื่นๆ ทั้งหลาย ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของโลกสังคมอย่างต่อเนื่องทั้งหมด 
    
อ้างอิง: ความคิดสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่. โดย ดร.สุเทพ สุวีรางกูร